ค้นหาบล็อกนี้

Translate

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สรุปบทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า

บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า 

1.1 ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (Information Age)




        ยุคนี้จะนับตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1957 จากที่การทำงานของมนุษย์มีทั้งด้านเกษตรและด้านอุตสาหกรรม ทำให้คนงานต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น ต้องมีความรู้ ในการใช้เครื่องจักรกล ต้องมีการจัดการข้อมูลเอกสาร ข้อมูลสำนักงาน งานด้านบัญชี จึงทำให้มีคนงานส่วนหนึ่งมาทำงานในสำนักงาน คนงานเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฝ่ายผลิตและลูกค้า ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการประมวลผล จัดการให้ระบบงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้เกิดการใช้เครื่องมือทางด้านสารสนเทศขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ
        เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการงานประจำวัน จะทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้น การผลิดทำได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆ ได้เร็วขึ้น มีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชี และมีโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

AI ปัญญาประดิษฐ์

AI ปัญญาประดิษฐ์


        ปัญญาประดิษฐ์ (อังกฤษ: artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่น

นิยามของปัญญาประดิษฐ์  

มีคำนิยามของปัญญาประดิษฐ์มากมายหลากหลาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทโดยมองใน 2 มิติ ได้แก่   - ระหว่าง นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์ กับ นิยามที่เน้นระบบที่ระบบที่มีเหตุผล (แต่ไม่จำเป็น         ต้องเหมือนมนุษย์)   - ระหว่าง นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลัก กับ นิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก         ปัจจุบันงานวิจัยหลัก ๆ ของปัญญาประดิษฐ์จะมีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก เนื่องจากการนำปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์หรือความรู้สึกของมนุษย์ อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่ นิยามดังกล่าวคือ 1.ระบบที่คิดเหมือนม

1.ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)




  1. ปัญญาประดิษฐ์ คือ ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ซึ่งเครื่องจักรที่มีสติปัญญาอย่างครบถ้วนและแท้จริง
  2. ปัญญาประดิษฐ์ คือ กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ 


2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)



  1. ปัญญาประดิษฐ์ คือ วิชาของการสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
  2. ปัญญาประดิษฐ์ คือ การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น 
  • สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
  • มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
  • เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
  • เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

3.ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)




  1. ปัญญาประดิษฐ์ คือ การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
  2. ปัญญาประดิษฐ์ คือ การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ
  3. ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกแบบเอเจนต์ที่มีปัญญา 
  4. ปัญญาประดิษฐ์ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally)

เป้าหมาย



ปัญหาโดยทั่วไปของการจำลอง (หรือสร้าง) ปัญญาถูกแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ จำนวนมาก นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์พยายามศึกษาระบบย่อย ๆ เหล่านี้ โดยที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่

การนิรนาม การให้เหตุผล และการแก้ไขปัญหา (deduction, reasoning, problem solving)


งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในช่วงแรก ๆ นั้นเริ่มต้นมาจากการให้เหตุผลแบบทีละขั้น ๆ เป็นการให้เหตุผลแบบเดียวกับที่มนุษย์ใช้ในการไขปัญหาหรือหาข้อสรุปทางตรรกศาสตร์ เมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จในการจัดการกับความไม่แน่นอนหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลได้ โดยใช้หลักการของความน่าจะเป็นและเศรษฐศาสตร์

ความยากของสาขานี้คือ อัลกอริทึมส่วนใหญ่ต้องใช้การคำนวณและประมวลผลมหาศาล มักจะเป็นการคำนวณแบบสลับสับเปลี่ยนจำนวนมาก และทำให้คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำมหาศาลเมื่อต้องแก้ปัญหาที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น งานวิจัยในสายนี้จึงมักมุ่งเน้นการหาอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาอย่างมีประสิทธิภาพ

มนุษย์มีความสามารถในการไขปัญหาอย่างรวดเร็ว สามารถตัดสินใจได้ตามสัญชาติญาณและมีความรวดเร็วกว่าความรู้สึกตามสามัญสำนึกและการอนุมานแบบทีละขั้นแบบที่งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในช่วงแรกทำได้ ปัจจุบัน งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์เริ่มหันมาให้ความสนใจการแก้ไขปัญหาที่ย่อยไปกว่าเชิงสัญลักษณ์ หรือที่เรียกว่า sub-symbolic problem solving ไม่ว่าจะเป็น เอเยนต์ฝังตัว โครงข่ายประสาทเทียม หรือการใช้หลักการทางสถิติกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์ในการเดาอย่างมีหลักการทางความน่าจะเป็น

เทคนิคที่นิยมใช้กันมากก็คือ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming) เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย first-order logic และ bayesian inference เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย bayesian networks


ยุค 5 G

ยุค 5 G

5G คืออะไร ก่อนที่จะไปถึง 5G เราเริ่มจาก 1G ก่อน ยุคนั้นเป็นยุคที่เราคุยกันผ่านเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก จนเราส่งข้อความ MMS หากันได้ในยุค 2G จากนั้นเราก็เข้าสู่ยุค 3G ที่เราเชื่อมต่อและเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นระหว่าง 20 kbps ถึง 42.2 Mbps และเข้ามาถึงยุค 4G  ที่เราสามารถดูภาพและเสียงหรือหนังออนไลน์พอได้เพราะความเร็วที่เพื่มขึ้นเช่น 4G LTE (100 Mbps), 4G LTE Cat.4 (150 Mbps) และ 4G LTE Advanced (1,000 Mbps)



ส่วนยุค 5G มันคือ Generation 5 หรือรุ่นที่ 5 ของการสื่อสารที่อนาคตมันจะไม่ใช่แค่มือถือแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT) ว่ากันว่าถ้าเรามี 5G เราจะดาวน์โหลดวีดีโอ หนังหรือแอปฯได้เร็วถึง 10,000 Mbps! ถ้าใช้ 4G ดูวิดีโอออนไลน์ (ขนาด 8K) หรือดาวน์โหลดหนังต้องรอ 6 นาที แต่ถ้ามี 5G ใช้เวลาแค่ 6 วินาที

เท่านั้นไม่พอ ถ้ามี 5G เราจะเชื่อมต่อไปปลายทางได้เร็วกว่า 0.001 วินาที (คือเร็วมาก) รับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 1,000 เท่า ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อยลง 90% ทำให้แบตจะยืดอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี

5G เหนือกว่า 4G อย่างไร

1. ตอบสนองไวกว่าถ้าเราใช้ 4G สั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆได้เร็วที่ 20 – 30 ms (Milli-second คือ 1:1,000 วินาที) แต่ถ้าใช้ 5G จะเร็วขึ้น 10 เท่า จะสั่งงาน IoT หรือสมาร์ทดีไวซ์ได้เร็วจริงถึง 3-4ms
2. รับส่งข้อมูลได้มากกว่า 4Gถ้า 4G รับส่งข้อมูลต่อเดือนได้แค่ 7.2 Exabytes 5G จะทำให้เรารับส่งข้อมูลได้เพิ่มขึ้น  7 เท่า คือ 50 Exabytes ต่อเดือน3. มีความถี่สำหรับใช้งานมากกว่าตอนใช้ 4G มีให้ใช้ถึงแค่ 3GHz แต่ถ้าเป็น 5G เราใช้งานคลื่นความถี่ได้ถึง 30GHz4. รับรองการใช้งานในแต่ละพื้นที่ได้มากกว่าถ้า 4G รับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. 5G จะรับได้ 10 เท่าคือรับได้ 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.5. ถ่ายโอนข้อมูลต่อวินาทีได้เยอะกว่าถ้า 4G โอนข้อมูลเข้าเครื่องได้แค่ 1 GB ต่อวินาที 5G จะทำได้ถึง 20 GB ต่อวินาทีหรือ 20 เท่าของ 4G

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม ห้อง 5/4 กลุ่มที่ 1

เลขที่เลขประจำตัวชื่อ - นามสกุลแสดงภาพ
231219นาย สหรัฐ มีทรัพย์

331260นาย นายปุณกัณฑ์ ปุญสิริ

431285นาย จักรภัทร ภัทรสิริวรกุล


data scientist



การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการมากตั้งแต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต และ โทรศัพท์มือถือ รวมไปถึง แท็ปเล็ต จึงทำให้มีความต้องการในงานสายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ การเติบโตของแวดวงธุรกิจนี้ ผลักดันให้องค์กรตระหนักถึงข้อมูลจำนวนมากที่ถูกส่งไปมาทุกๆวินาที องค์กรสามารถติดตามและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือทำให้ได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจมากขึ้น วิทยาการข้อมูลจะมีอิธิพลต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคตอย่างแน่นอน วิทยาการข้อมูลประกอบไปด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์การตลาด (Market Analysis) และ การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)